Home บทความแนะนำ ไขสงสัยว่าทำไมนักลงทุนต้องให้ความสำคัญกับ Nonfarm Payrolls 

ไขสงสัยว่าทำไมนักลงทุนต้องให้ความสำคัญกับ Nonfarm Payrolls 

by talkthurakit
Nonfarm Payrolls

ไขสงสัยว่าทำไมนักลงทุนต้องให้ความสำคัญกับ Nonfarm Payrolls 

Nonfarm Payrolls เป็นข้อมูลทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา บทความนี้จะมานำเสนอว่าความสำคัญนั้นมีอะไรบ้าง ทำไมการเคลื่อนไหวของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จะได้รับความสนใจและถูกติดตามโดยนักเศรษฐศาสตร์ นักลงทุนจากทั่วโลก

  1. Nonfarm Payrolls คืออะไร

Nonfarm Payrolls (ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร) คือดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญมากที่สุดตัวหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ตัวเลขที่ว่านี้นับจากจำนวนการจ้างงานในภาคการบริการ การก่อสร้างและอุตสาหกรรม ที่ยังไม่นับรวมการจ้างงานในภาคการเกษตร ในครัวเรือน และในองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร และการจ้างงานที่ถูกนับรวมในตัวเลข Nonfarm Payrolls มีสัดส่วนสูงถึง 80% ของ GDP สหรัฐอเมริกา

Nonfarm Payrolls
  1. ตัวเลขของ Nonfarm Payrolls ที่ประกาศออกมา มีความหมายอย่างไร

ตัวเลข Nonfarm Payrolls จึงจะถูกประกาศทุก ๆ วันศุกร์แรกของแต่ละเดือน โดยกระทรวงแรงงานของสหรัฐอเมริกา ตัวเลขที่ประกาศออกมาคือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละเดือน ที่หมายถึงปริมาณการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหากถ้าเป็นบวก หมายถึงการจ้างงานเพิ่มขึ้น แต่ถ้าเป็นลบ หมายถึงการจ้างงานลดลง มีรายละเอียดดังนี้

เมื่อตัวเลข Nonfarm Payrolls เพิ่มขึ้น หมายถึงธุรกิจโดยทั่วไปกำลังมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แปลได้ว่าภาคธุรกิจในภาพรวมของสหรัฐอเมริกากำลังขยายตัว แรงงานที่เพิ่มขึ้นก็จะมีเงินมาใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการ จะช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป สิ่งสำคัญของการเพิ่มขึ้นของตัวเลข Nonfarm Payrolls บางครั้งก็นำไปสู่ความกังวลเรื่องเงินเฟ้อในอนาคตได้เช่นกัน กรณีนี้โดยทั่วไปแล้ว มักส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้น และตลาดหุ้นภาพรวมปรับตัวดีขึ้น ในที่สุดจะทำให้มีโอกาสที่อัตราดอกเบี้ยในอนาคตนั้นปรับตัวสูงขึ้น เช่น อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ก็มีผลให้นักลงทุนย้ายเงินไปลงทุนในตราสารหนี้ที่จะได้รับดอกเบี้ยมากขึ้นในอนาคต

Nonfarm Payrolls

เมื่อตัวเลข Nonfarm Payrolls ลดลง หมายถึงธุรกิจโดยทั่วไปกำลังมีการจ้างงานลดลง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แปลได้ว่าภาคธุรกิจในภาพรวมของสหรัฐอเมริกากำลังหดตัว แรงงานที่น้อยลงก็จะทำให้มีเงินเพื่อมาใช้จ่ายในสินค้าและบริการลดลง อาจส่งผลเชิงลบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต กรณีนี้มักส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง และตลาดหุ้นภาพรวมปรับตัวแย่ลงได้เช่นกัน

  1. Nonfarm Payrolls มีผลต่อการเคลื่อนไหวทองคำกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและตลาดหุ้นอย่างไร

ราคาทองคำโดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวตรงข้ามกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและตลาดหุ้น ถ้าตัวเลข Nonfarm Payrolls ที่ประกาศออกมาเพิ่มขึ้น ราคาทองคำที่ถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ก็มักจะถูกกดดันให้ปรับตัวลดลง เนื่องจากนักลงทุนกล้าที่จะลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอย่างเช่นหุ้นมากขึ้น

Nonfarm Payrolls
  1. ความสำคัญของ Nonfarm Payrolls ต่อเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา

ตัวเลข Nonfarm Payrolls ยังถือเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา ได้แก่ การกำหนดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative Easing: QE) มาตรการดึงสภาพคล่องออกจากระบบ (Quantitative Tightening: QT) รวมไปถึงการตัดสินใจเพิ่มหรือลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Fund Rate)

ดังนั้นตัวเลข Nonfarm Payrolls เป็นตัวเลขทางเศรษฐกิจที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสนใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นอีกดัชนีสำคัญที่จะบ่งชี้ถึงเศรษฐกิจในอนาคต รวมไปถึงส่งผลต่อสินทรัพย์ทางการเงิน บทความจาก ล็อตโต้สด Lottosod888 เว็บแทงหวยออนไลน์

Leave a Comment