
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมที่ต้องรู้ก่อนทำธุรกิจ
ในทางปฏิบัติการวิเคราะห์อุตสาหกรรมมีองค์ประกอบที่ต้อง พิจารณามากมายที่ต้องศึกษา เริ่มจากการศึกษาถึงขนาดของอุตสาหกรรมว่ามีมูลค่าตลาดเท่าใด ในอดีตที่ผ่านมามีการเติบโต มากน้อยเพียงใด มีกฎกติกาในการทำธุรกิจอย่างไร มีผู้ประกอบการมากน้อย เพียงใด รูปแบบการแข่งขันเป็นอย่างไร เทคโนโลยีการผลิต มีพัฒนาการอย่างไร เท่านี้อาจไม่พอการวิเคราะห์อุตสาหกรรม จึงควรมีการแบ่งการวิเคราะห์ออกเพื่อให้ละเอียดมากขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งเป็น หมวดหมู่ต่าง ๆ ได้ 5 หมวดหมู่ ดังนี้

1. การวิเคราะห์อุตสาหกรรมจากการแข่งขันจากคู่แข่งที่มีอยู่ (Rivalry Among Existing Competition) ระดับและรูปแบบการแข่งขันในแต่ละอุตสาหกรรมมีความแตกต่าง กันไปบางอุตสาหกรรมมีจำนวนคู่แข่งมากราย บางอุตสาหกรรม คู่แข่งน้อยราย ขณะที่บางอุตสาหกรรมอาจไม่มีคู่แข่งเลย ในการวิเคราะห์อุตสาหกรรมมีความรุนแรงเพียงใด ต้องพิจารณาจำนวนของบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมและขนาดของบริษัท หากบริษัทคู่แข่งหลายรายที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ย่อมสร้างความกดดันในการแข่งขันได้มาก
2. การวิเคราะห์อุตสาหกรรมจากการคุกคามจากคู่แข่งใหม่ (Threat of New Entrants) โดยธรรมชาติในการทำธุรกิจ นักลงทุนจะให้ความสนใจกับธุรกิจที่สามารถทำกำไรได้สูง และมีความเสี่ยงต่ำ ทำให้อุตสาหกรรม ใดก็ตามที่มีคุณลักษณะดังกล่าวกลายเป็นจุดสนใจและมีจำนวนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีอุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรม ธุรกิจใหม่ที่สดใหม่ที่น่าสนใจกว่าจึงเป็นสิ่งที่ต้องเฝ้าระวัง

3. การวิเคราะห์อุตสาหกรรมการคุกคามจากสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ (Threat of Substitutes Products) ด้วยนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น ทำให้ปัจจุบันมีสินค้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ซึ่งบางส่วนเป็นสินค้าที่มีประโยชน์ ใช้สอยเหมือนกับของที่มีอยู่แล้วในตลาด แต่มีการดัดแปลงเล็กน้อย เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น หรือปรับเปลี่ยนให้มีรูปแบบที่ทันสมัย ซึ่งสินค้าลักษณะดังกล่าวถือว่าอยู่ในกลุ่ม ของสินค้าที่ใช้ทดแทนกันได้ทั้งสิ้น แน่นอนว่าการทำธุรกิจต้องมีการปรับตัวทันโลกตลอดเวลา แต่หากผู้ผลิตที่อยู่ในอุตสาหกรรม ไม่มีการพัฒนาและปรับปรุงตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ก็จะทำให้ยอดขายและกำไรมีแนวโน้มที่ลดลง
4. การวิเคราะห์อุตสาหกรรมในอำนาจในการต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power of Customers) ลูกค้ามักจะอยู่ในฐานะที่มีอำนาจต่อรองในระดับสูง แต่หากมองในเชิงบวก อำนาจต่อรองของลูกค้าก็ถือเป็นกลไกประการ หนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาสินค้า และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจให้กับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรม

5. การวิเคราะห์อุตสาหกรรมในอำนาจในการต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบ (Bargaining Power of Suppliers) หัวใจสำคัญของผู้ประกอบการในการทำกำไรก็คือ ต้องบริหารจัดการเพื่อให้ ส่วนต่างระหว่างราคาขายสินค้า และต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับที่กว้างที่สุด ซึ่งก็หมายถึงการที่จะต้องพยายามขายสินค้าให้ได้ ราคาสูงที่สุด และขณะเดียวกันก็ต้องพยายามจัดซื้อวัตถุดิบ และคุมต้นทุนในการผลิตรวมให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด
การวิเคราะห์อุตสาหกรรมเป็นการวางแผน การคิดกลยุทธ์ของธุรกิจเพื่อดูปัจจัยภายนอก ที่เป็นในฝั่งของ อุปสรรค (Threats) ที่จะสามารถเกิดขึ้นได้ในการทำธุรกิจ ดังนั้นหากเราพิจารณาและไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วนเราจะสามารถรับมือ และวางแผนกับอุปสรรคจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ เหล่านี้ได้อย่างดี บทความดีๆจากล็อตโต้สด Lottosod888 เว็บแทงหวยออนไลน์