
โดยทั่วไปแล้วใด ๆ ในโลกล้วนมี อนิจจัง เกิด แก่ เจ็บตาย ทุกอย่างมีขึ้นแล้วก็ต้องมีลง ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ ชีวิต สิ่งของ
ทุกอย่างล้วนมีวัฏจักรของมัน เช่นเดียวกันกับธุรกิจ ก็มีวัฏจักรเศรษฐกิจ ที่มีทั้งช่วงขยายตัว รุ่งเรือง ถดถอย ตกต่ำ และก็กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง เป็นกราฟขึ้นลง ซึ่งมันก็คือเรื่องปกติของการทำธุรกิจทุกประเภทที่ต้องพบเจอกับวัฏจักรเศรษฐกิจ โดยวัฏจักรเศรษฐกิจตามทั่วไปแล้วแบ่งเป็น 4 ช่วง จะเป็นยังไงไปอ่านกันต่อเลย

1. วัฏจักรเศรษฐกิจ : ช่วงเศรษฐกิจขยายตัว (Expansion)
จะเป็นช่วงที่ธุรกิจ จะหยิบ จะจับ จะทำอะไร ก็ได้กำไรไปหมด เปรียบเสมือนเป็นช่วงฟ้าหลังฝนของการทำธุรกิจ ซึ่งมีปัจจัยภายนอกเป็นแรงผลักดันให้ธุรกิจได้รับผลกระทบได้ด้านที่ดี สัญญาณที่บ่งบอกว่าเป็นช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นคือ การผลิตและการจ้างงานนั้นมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอย มีการลงทุนจาดภาคเอกชนมากขึ้น อุตสาหกรรมที่ได้รับผลประโยชน์จาก วัฏจักรเศรษฐกิจ ช่วงนี้คือ ค้าปลีก โรงแรม นิคมอุตสาหกรรม สถาบันการเงิน เป็นต้น
2. วัฏจักรเศรษฐกิจ : ช่วงเศรษฐกิจรุ่งเรือง (Peak)
เป็นจุดสูงจุดของกราฟ วัฏจักรเศรษฐกิจ หลังจากที่ผ่านช่วงขยายตัวมา ระยะหนึ่งทุกคนก็จะมีแต่ความสุข การทำธุรกิจเริ่มอิ่มตัวและกำไรดีจนเริ่มคงที่ ซึ่งความสุขนั้นก็มักจะมาพร้อม ๆ กับความประมาท การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนสะพัด เศรษฐกิจเป็นไปได้ด้วยดี มีความต้องการซื้อสินค้าของประชาชนเยอะ จนบางครั้งมันอาจจะเยอะเกินไป ภาคการผลิตต่าง ๆ เริ่มมีปัญหาขาดแคลนแรงงาน ตลอดจนปัญหาขาดแคลนวัตถุดิบ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ของในตลาดแพง จนเกิดสภาวะการเงินเฟ้อหรือสภาวะการณ์ที่มีเงินในระบบเศรษฐกิจมากเกินไป

3. วัฏจักรเศรษฐกิจ : ช่วงเศรษฐกิจถดถอย (Constraction)
ทุกอย่างในโลกล้วนมีอนิจจัง มีขึ้นต้องมีลง เมื่อเราเดินทางไปถึงจุดสูงสุดของธุรกิจการเข้าสู่สภาวะขาลงนี้เป็นเรื่องปกติที่คนทำธุรกิจต้องเจอ ซึ่งหากเป็นขาลงที่ถูกเตรียมการไว้อย่างดีจะเปรียบเสมือนการล้มบนนุ่น แต่หากไม่ได้เตรียมกลยุทธ์หรือแผนการรองรับขาลงของธุรกิจไว้อย่างดี จากที่ล้มบนนุ่นจะกลายเป็นล้มบนหนามแทน สัญญาณที่บ่งบอกคือ ทุกอย่างที่เคยรุ่งเรืองนั้นเริ่มที่จะปรับตัวลดลงไม่ว่าจะเป็น ด้านการผลิตที่ลดลง การจ้างงานที่ลดลง ภาคการลงทุนของเอกชนลดลง รวมถึงการออกมาจับจ่ายใช้สอยของประชาชนลดลง

4. วัฏจักรเศรษฐกิจ : ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ
เป็นจุดต่ำสุดของกราฟวัฏจักรเศรษฐกิจ เป็นช่วงที่ธุรกิจต่าง ๆ ได้รับรู้ถึงความยากลำบากของการทำธุรกิจ จนบางธุรกิจเริ่มหมดหวัง กับเรื่องที่ต้องเผชิญจนจำเป็นต้องถอนการลงทุนหรือปิดกิจการไป ซึ่งหากนักธุรกิจที่ได้เตรียมแผนการหรือกลยุทธ์เพื่อไว้รับมือ ตั้งแต่ช่วงก่อนเศรษฐกิจถดถอยก็จะไม่ได้รับผลกระทบหนักเท่าธุรกิจที่ไม่ได้เตรียมการไว้ สถานการณ์ของเศรษฐกิจตกต่ำเราจะเห็นได้จาก อัตราการว่างงานสูงขึ้น การจับจ่ายใช้สอบของประชาชนลดลง และการลงทุนใหม่ ๆ แทบไม่เกิดในระบบเศรษฐกิจ
ดังนั้นการที่นักลงทุนหรือนักธุรกิจได้เรียนรู้ถึง วัฏจักรเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นจะทำให้เข้าใจและควบคุมความเสี่ยงได้ดีขึ้น มีวางแผน เตรียมกลยุทธ์รับมือเพื่อการทำธุรกิจได้ดียิ่งขึ้นบทความดีๆจากล็อตโต้สด