Home บทความแนะนำ ความสำคัญของนโยบายการเงินกับการทำธุรกิจ

ความสำคัญของนโยบายการเงินกับการทำธุรกิจ

by talkthurakit
นโยบายการเงิน

ประเทศไทยดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexible Inflation Targeting) ซึ่งหมายความว่าให้ความสำคัญกับการดูแลอัตราเงินเฟ้อ ควบคู่ไปกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงเสถียรภาพต่าง ๆ เช่น ภาคธุรกิจ ภาคครัวเรือน สถาบันการเงินและตลาดเงิน เป็นต้น โดยนโยบายงานเงินแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และนโยบายการเงินแบบเข้มงวด ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย

นโยบายการเงิน

มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อที่จะเพิ่มประมาณเงินในระบบ หรือเพิ่มอัตราเงินเฟ้อ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการจับจ่ายใช้สอยของภาคส่วนต่าง ๆ กระตุ้นการลงทุน การจ้างงาน ซึ่งเพื่อให้ได้ผลดังกล่าว คณะกรรมการนโยบายการเงินโดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะส่งสัญญาณปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อให้เกิดการนำเงินออกไปใช้ในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น โดยมักจะใช้นโยบายนี้ตอนที่เศรษฐกิจเริ่มซบเซา 

ในแง่มุมของธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลบวกจากการใช้นโยบายนี้คือ กลุ่มค้าปลีก เพราะประชาชนออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย เพราะจะถูกปฏิเสธการให้สินเชื่อน้อยลง ส่วนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ เช่น ธนาคารพาณิชย์เพราะเมื่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายถูกปรับลด อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็จะถูกปรับลดด้วย และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากบางประเภทที่มีระยะการฝากชัดเจน ต้องรอให้เงินฝากดังกล่าวครบกำหนดชำระก่อนถึงจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากลงมาได้ นั่นจึงทำให้ธุรกิจประเภทธนาคารพาณิชย์ได้รับ Net Interest Margin (NIM) ลดลง

นโยบายการเงินแบบเข้มงวด

นโยบายการเงิน

มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อที่จะลดปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ หรือเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ปริมาณคงที่ ซึ่งเพื่อให้ได้ผลดังกล่าว คณะกรรมการนโยบายการเงินโดยธนาคารแห่งประเทศไทยจะส่งสัญญาณปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจลดลง เป็นการลดความร้อนแรงของระบบเศรษฐกิจ

ในแง่มุมของธุรกิจเมื่ออัตราดอกเบี้ยถูกปรับเพิ่มขึ้นเพื่อเงินเฟ้อ ในตลาดหุ้นจะส่งผลทำให้ส่วนต่างระหว่างผลตอบแทนจากการลงทุนในตลาดหุ้นกับตลาดตราสารหนี้ อย่างเช่นพันธบัตรแคบลง มีโอกาสทำให้เม็ดเงินลงทุนไหลออกจากตลาดหุ้นไปตลาดตราสารหนี้ กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลประโยชน์จะเป็นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เพราะอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จะถูกปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการพิจารณาสินเชื่อเป็นไปได้ยากขึ้น ทำให้มีเม็ดเงินออกไปสู่ระบบเศรษฐกิจยากขึ้น แต่ในส่วนของ Net Interest Margin (NIM) จะมากขึ้น และกลุ่มเสียประโยชน์จะเป็น กลุ่มค้าปลีก กลุ่มพัฒนาที่อยู่อาศัย ซึ่งตรงข้ามกับผลของนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย

นโยบายการเงิน

การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับนโยบายการเงินก็เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้คงที่ ไม่ให้เศรษฐกิจมีความร้อนแรงจนเกินไป การที่เราทำธุรกิจเราควรที่จะศึกษาเรื่องนโยบายการเงินเหล่านี้ไว้ เพื่อให้ธุรกิจมีการปรับตัวตามสถานการณ์ต่าง ๆ และเตรียมแผนการเพื่อรองรับความเสี่ยงได้ทันท่วงทีบทความดีๆจากล็อตโต้สด Lottosod888 เว็บแทงหวยออนไลน์ที่มีหวยมากที่สุดในประเทศ

Leave a Comment