Home ข่าวสาร การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา (Price Psychology)

การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา (Price Psychology)

by talkthurakit

การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา หรือ  Price Psychology  เป็นการตั้งราคาดึงดูดลูกค้าตามหลักจิตวิทยา เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าของผู้ขายมีราคาที่ถูก ราคาเหมาะสม และคุ้มค่า เป็นการกระตุ้นการซื้อสินค้า และ

การตั้งราคา

เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกสะดุดตาและตัดสินใจซื้อได้ง่ายและเร็วขึ้น

หลัก ๆ แล้ว แบ่งได้เป็น 10 ข้อ ดังนี้

1.ถ้าสินค้ามี “ราคาสูง” อย่าตั้งราคาเป็นตัวเลขกลม ๆ เช่น ถ้าเราตั้งราคาสร้อยคอไว้ที่ 2,000 บาท ลูกค้าอาจจะรู้สึกว่าราคาที่ควรจะเป็นอยู่ที่ 1,550 บาทเท่านั้น ซึ่งเราจะเห็นได้บ่อย 

จากรูปจะเห็นว่า ราคาบนเว็บไซต์ จะไม่ถูกตั้งเป็นเลขกลม ๆ ซึ่งลูกค้าจะมองว่าราคาถูก เช่น ราคาสินค้า 970 บาท ราคาหลักร้อย ไม่ถึง 1000 เอง แต่แท้จริงแล้วเพิ่มอีกแค่ 30 บาท ก็คือ 1000 นั้นเอง

2.เรียงลำดับราคาโดยเริ่มจากสินค้าราคาสูงก่อนใน Menu แสดงราคา เพราะจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้าในร้านราคาถูกลงเรื่อย ๆ แทนที่ลูกค้าจะรู้สึกว่าแพงขึ้นเรื่อย ๆ นั่นเอง และนอกจากนั้น การที่ใช้ราคาที่สูง ขึ้นมาแสดงก่อน ยังเป็นการแสดงให้ลูกค้าได้เห็นของพรีเมี่ยมก่อน ลูกค้าจึงมีโอกาสเห็นและมีโอกาสซื้อได้มากขึ้น การแสดงราคาดังกล่าว 

การตั้งราคา

นิยมใช้ในร้านอาหารบุฟเฟ่ต์ 

3. เพิ่มราคาสินค้าเก่าเมื่อออกสินค้าใหม่ หรือ การที่เขียนสินค้าราคาตอนเปิดตัว ให้ดูแพงไว้ก่อน เพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้าว่า ราคามันลดลงเยอะมาก แต่จริง ๆ แล้วที่ราคานั้นลดเยอะเพราะสินค้านั้นเป็นของตกรุ่น หรือไม่ได้รับความนิยมแล้ว ไม่ใช่เป็นการลดราคาเพื่อทำโปรโมชั่น เช่น การขายโทรศัพท์มือถือบนเว็บไซต์ จะเห็นได้ว่า ราคาที่ตั้งเป็นราคา ณ ตอนเปิดตัว แล้วทางเว็บไซต์เขียนว่าลด 70% เพื่อเป็นการดึงดูดลูกค้า แต่แท้จริงแล้วเป็นสินค้าตกรุ่นไม่ใช่สินค้าลดราคานั่นเอง

4. ยิ่งเขียนราคาให้สั้นเท่าไหร่ ลูกค้าก็จะยิ่งรู้สึกว่าสินค้านั้นถูก เช่น ถ้าสินค้านั้นราคา 1,000 บาท ทางผู้ขายจะไม่นิยมเขียนว่า 1,000.00 และในบางครั้งผู้ขายมักจะเอาเครื่องหมายลูกน้ำออกเหลือเพียง 1000 ให้ลูกค้ารู้สึกว่า ตัวเลขน้อย = ราคาถูก

5. การวางตำแหน่งราคาบางครั้งก็ส่งผลผู้บริโภคคิดว่าสินค้านั้น มีราคาถูก โดยการที่เราว่างราคาสินค้าไว้ทางด้านซ้ายของป้ายราคาจะทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าสินค้านั้นมีราคาถูกกว่าการวางราคาสินค้าไว้ด้านขวา เพราะว่า สายตาคนเราปกติแล้วจะมองจากด้านซ้ายไปขวา ตามแนวแกน X หากตัวเลขอยู่ซ้ายมีย่อมมีค่าน้อยกว่าตัวเลขอยู่ขวามือ

6. ถ้าขายสินค้าราคาสูงควรให้ลูกค้าดูสินค้าก่อนบอกราคา เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นคุณภาพและสิ่งที่จะได้รับเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกอยากได้ในสิ่งนั้น ก่อนที่จะบอกราคา

7.ในทางกลับกัน หากสินค้าชิ้นนั้นราคาต่ำ ควรให้ลูกค้า รู้ราคาสินค้า ก่อนบอกราคาเพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่าราคามันถูกจนน่าซื้อ

8. การลดราคาสินค้า ให้เขียนเทียบ ราคาเดิมกับราคาที่ลดแล้วให้ต่างกันชัดเจนโดยการใช้สัญลักษณ์ หรือสีที่ตัดกัน เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกว่า สินค้านั้นถูกลดมาแล้ว  

9. Red pPrice ผู้บริโภคส่วนใหญ่เชื่อมโยงสีแดงกับราคาถูก นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ป้ายโปรโมชันหรือป้ายลดราคาเป็นสีแดงหรือ การใช้สีแดงขีดฆ่าราคาเดิม ทำให้ผู้บริโภครู้สึกว่า สินค้าราคาใหม่นั้นเป็นสินค้าที่ถูก

การตั้งราคา

ลดราคามาแล้ว และนอกจากการใช้สีแดงเพื่อแทนสัญลักษณ์ราคาที่ลดแล้ว เราก็มักเห็นคำว่า “Red Pprice” แทนราคาพิเศษอีกด้วย

10. Odd Ppricing เป็นการตั้งราคาใช้เลขลงท้ายด้วยเลข 9 เพื่อให้ลูกค้ามองว่า สินค้าราคาไม่แพงเกินไป เช่น ราคา 199 599 999 นิยมใช้กันมาใน สินค้า mass product  ที่มีมูลค่าไม่สูงมาก (ไม่นิยมเกินหลักพัน) เช่น เสื้อผ้าแฟชั่น บุฟเฟ่ต์ร้านอาหาร แต่จะไม่เหมาะอย่างยิ่งกับสินค้า luxury goods เพราะจะถูกมองว่าเป็นสินค้าถูกมีมูลค่าไม่สูง อ่านบทความที่น่าสนใจ ทอล์คธุรกิจ

Leave a Comment