การกำหนดราคาสินค้ามีหลายรูปแบบ แต่การที่เราจะกำหนดราคาสินค้านั้น เราจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างของสินค้านั้นด้วย เพื่อให้เกิดกำไรและเกิดประโยชน์สูงที่สุด โดยทั่วไปแล้ว ปัจจัยการกำหนดราคาสินค้ามี 3 ข้อหลัก ดังนี้
1.การคำนึงที่ต้นทุนรวม (ต้นทุนรวม = ต้นทุนการผลิต + ต้นทุนการเช่า + ต้นทุนพนักงาน + ต้นทุนอื่น ๆ )

ข้อนี้ถือเป็นพื้นฐานของการกำหนดราคาสินค้า ที่ผู้ขายทุกคนต้องรู้เพราะว่า หากเราต้องการกำหนดราคาต่ำกว่าต้นทุนก็คือขาดทุน ดังนั้นการที่เราคิดต้นทุนห้ามคิดแค่ ต้นทุนสินค้า เราต้องคำนวณนต้นทุนทางบัญชีด้านอื่น ๆ อีกด้วย เช่น ต้นทุนค่าเช่าที่ ต้นทุนพนักงาน รวมถึงต้นทุนด้านเวลา และในทางเศรษฐศาสตร์ มีต้นทุกอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่า ต้นทุนค่าเสียโอกาส
“ต้นทุนค่าเสียโอกาส (opportunity cost)” นั่นคือ มูลค่าผลตอบที่ที่เราสูญเสียไปจากกิจกรรมหนึ่ง เนื่องจากเราไปทำอีกกิจกรรมหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น นาย A มีที่ดินผืนเปล่าอยู่ 1 ไร่ แต่นาย A ไม่ได้จัดการกับที่ดินนี้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนาย A ปล่อยที่ดินนั้นว่างเปล่าไม่ได้เข้าไปทำอะไรให้เกิดกำไร ซึ่งหากนาย A ประกาศให้คนมาเช่าที่ดินผืนนี้ นาย A จะได้ค่าเช่า 20,000 บาทต่อเดือนแต่นาย A ไม่ทำ จึงทำให้นาย A เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาสจากการไม่ใช่ประโยชน์จากที่ดินดังกล่าว 20,000 บาท
2.ราคาเปรียบเทียบและราคาในท้องตลาด
การสำรวจราคาของคู่แข่งเป็นสิ่งสำคัญมากในการกำหนดราคาสินค้าของตนเพราะ หากสินค้าของเราคุณภาพเท่าเทียมกับคู่แข่ง และอยู่ในตลาดเดียวกับคู่แข่งนั้น การกำหนดราคาสินค้าจึงมีผลมากกับการตัดสินใจซื้อสินค้าของลูกค้า เพราะหากสินค้าของเราแพงกว่าคู่แข่งแม้แต่ บาทเดียวก็ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าได้ เช่น ชานมไข่มุก ในตลาด Mass ที่พยายามแข่งกันด้านราคา มักเห็นทั่วไปในรราคาเริ่มต้นที่ 19 บาท ซึ่งหากในตลาดชานมไข่มุกที่ Mass นี้ มีเจ้าใดเจ้าหนึ่งขายที่ราคา 20 บาท ความสนใจของลูกค้าจะลดลงทันที ยิ่งหากวางขายสินค้าในที่ที่ใกล้กัน สินค้ากลุ่มนี้จัดอยู่ในตลาด Competitive Market หรือตลาดแข่งขันยสมบูรณ์

3.คุณค่าของสินค้าและบริการ
การเพิ่มมูลค่าให้สินค้านั้น ตรงกันข้ามกับการแข่งขันกันทางด้านราคาตามข้อ 2 ข้างต้น อย่างชัดเจน เพราะการแข่งขันกันด้านคุณภาพนี้คือ ยิ่งตั้งราคาสินค้าสูงเท่าไหร่ยิ่งน่าสนใจ เป็นการสร้างคุณค่าให้กับตัวสินค้านั่นเอง โดยคุณค่าแบ่งเป็น 2 ข้อ คือ
1.) คุณค่าสามัญ : หรือจุดแข็งของสินค้า เป็นการเพิ่มคุณค่าสามัญจะไม่มีต้นทุนในการผลิต แต่สามารถขายสินค้าได้มากขึ้น เช่น ยิ่งสินค้าที่มีน้อย หายาก มีผู้เชี่ยวชาญสร้างสรา้งสรรค์ มีประวัติความเป็นมา ยิ่งมีคุณค่ามากขึ้น ซึ่งสินค้าประเภทเหล่านี้จะได้รับคุณค่ามากขึ้นด้วยตัวของสินค้าเอง
2.) คุณค่าเฉพาะตัว : การที่เราเพิ่มคุณค่าเฉพาะตัวให้กับสินค้า สินค้าที่เป็นของถูกจะเป็นของแพงได้ในพริบตา เช่น การสร้าง value unique selling point

ตัวอย่างเช่น เจ๊ไฝ street food ที่ได้รับรางวัลมิชลินมิชเชอลีน เพราะ เจ๊ไฝ มี unique selling point มีความแตกต่าง มีคุณค่าเฉพาะตัว มีการการันตี มีสื่อเล่าเรื่องให้ฟัง เจ๊ไฝจึงสามารถ ตั้งราคาไข่เจียวปูจานละเป็นพันและขายได้ คนยอมจ่ายเงินแลกกับคุณค่า ประสบการณ์ของตัวเอง โดยเจ๊ไฝไม่สนใจแค่ต้นทุนหรือราคาเปรียบเทียบ แต่เจ๊ไฝเชื่อว่าไข่เจียวปูของตัวเองมันมีคุณค่ามากพอที่จะขายราคาเท่านี้
อีกตัวอย่างเช่น ร้านราเมง Raockmen ที่กำหนดว่าวันนึงจะเสริฟกี่ชามจาน จึงทำให้ sSupply (ความต้องการขาย) น้อย แต่ dDemand (ความต้องการซื้อ) เยอะ ลูกค้าจึงรู้สึกว่า Lamen Ramen นี้มัน lLimited ของมันต้องมี ซึ่งยิ่งผู้ขายกำหนด dDemand และ sSupply ได้เท่าไหร่ ก็ยิ่งสามารถตั้งราคาได้มากเท่านั้น อ่านบทความที่น่าสนใจ ทอล์คธุรกิจ